วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2555

ตลาดน้ำอโยธยา

ตลาดน้ำอโยธยา


ประวัติ


ตลาดน้ำอโยธยา จ.พระนครศรีอยุธยา
เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ทางศิลปวัฒนธรรมไทย ที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยามีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะให้สถานที่แห่งนี้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวและศึกษาเชิงอนุรักษ์ศิลปะวัฒนธรรมไทยตั้งแต่สมัยอยุธยาทั้งด้านการแต่งกายสถาปัตยกรรมที่งดงามและคงเอกลักษณ์ขนบธรรมเนียมประเพณี การละเล่น และแสดงพื้นบ้าน ของกินของใช้ในยุคเก่า วิถีชีวิตความเป็นอยู่อย่างไทยๆ ที่เรียบง่าย
ตลาดน้ำอโยธยา เป็นจุดศูนย์รวมนัก ท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติที่จะได้เพลิดเพลินไปกับบรรยากาศ และทัศนียภาพอันงดงามแบบไทยๆด้วยการเดินชมตลาดเพื่อชิมอาหารรสชาดอร่อยๆ เรียบคลองยาว หรือจะซื้อหาของกินของฝากบนร้านค้าที่ตั้งเรียงรายอยู่ในเรือนไทยอันงดงาม รอบตลาดน้ำอโยธยาของเรา ก็เพลิดเพลินไม่แพ้กัน พร้อมกันนี้ก็ยังมีเรือบริการรับส่งไปยังท่าเรือภายในตลาดอีกด้วยเพื่อ สะท้อนถึงวิถีการ เดินทางในสมัยก่อน
จุดเด่นอีกเรื่องหนึ่งที่ตลาดน้ำอโยธยาได้นำมารวบรวมไว้ที่นี่ คือการนำชื่ออำเภอทั้งหมดของ จังหวัดพระนคร ศรีอยุธยาทั้งหมด มาตั้งเป็นชื่ออาคาร สถานที่ เพื่อให้ผู้ที่มาเยือนได้รู้จักสินค้าของแต่ละอำเภอ และสามารถจดจำชื่ออำเภอต่างๆของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้เป็นอย่างดี
ปณิธาน ความตั้งใจเพื่อให้ตลาดน้ำอโยธยา เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ให้ผู้ที่มาเยือนได้ศึกษาเรียน รู้วิถีชีวิตความเป็นอยู่อย่างไทย เห็นคุณค่าของศิลปะและ วัฒนธรรมของไทยแผ่นดินอันอบอุ่นของไทย ที่บรรพชนรุ่นก่อนได้ต่อสู้เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้มีที่อยู่ที่อาศัยและ ควรรักษาๆไว้ให้ดีอีกนาน

วิถีไทยในอยุธยา
ในพระนครศรีอยุธยาเต็มไปด้วยวัดวาอาราม เพราะประชาการในกรุงศรีอยุธยาไม่ว่าจะเป็นชนชั้นสูงหรือชนชั้นต่ำ ล้วนมีศรัทธาในพระพุทธศาสนาฝ่ายเถวาท ความมั่งคั่งที่ได้จากการค้าขายของกรุงศรีอยุธยามักหมดไปเพื่อสร้างวัด อันเป็นแหล่งรวมของศิลปะสถาปัตยกรรมฝีมือช่างหลวงและช่างชาวบ้าน
วิถีชีวิตของชาวบ้านส่วนมากอยู่เรือนไม้ไผ่ริมน้ำ ทำนาปลูกข้าวที่ต้องพึงพาธรรมชาติ จึงมีประเพณีพิธีกรรมเกี่ยวกับการเกษตรกรรมหลายอย่าง เช่น ขอฝน ทำขวัญข้าว แข่งเรือ ฯลฯ นอกจากนั้นยังมีอาชีพทำงานหัตถกรรม เช่น ปั้นหม้อ ทอผ้า ทำเครื่องจักสาน แกะไม้ ถลุงเหล็กฯลฯประเพณีเหล่านี้ยังสืบเนื่องมาจนถึงสมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์ ปัจจุบันยังคงมีอยู่




ตลาดน้ำอโยธยา เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เกิดขึ้นได้เนื่องจากต้องการให้ พื้นที่เมืองอโยธยาที่ อยู่บริเวณรอบนอกเกาะกรุงศรีอยุธยา เป็นสถานที่ท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งที่สะท้อนวิถีชีวิตชาวกรุงเก่า ความเป็นอยู่ของคนเมืองรวยน้ำใจ และ อู่ข้าว อู่น้ำ ที่สำคัญ ซึ่งทุกวันนี้แทบจะหาไม่ได้แล้ว กลับคืนมาอีกครั้ง ภายในตลาดน้ำประกอบด้วยพื้นที่ส่วนที่เป็นน้ำจะอยู่ตรงกลาง ล้อมรอบด้วยพื้นที่บก แบ่งเป็น 16 โซน ตามชื่ออำเภอต่าง ๆ ในจังหวัดอยุธยา มีทั้งโซนของกินในเรือ จะนั่งรับประทานริมน้ำ หรือจะเดินไปทานไปก็ไม่ว่ากันแล้วแต่สะดวก เรื่องของกินนั้นไม่ต้องห่วงเพราะที่นี่เขาคัดสรรของอร่อยทั่วเมืองไทยมารวม ไว้ ส่วนของฝากของที่ระลึกก็มีให้เลือกชมเลือกช็อปมากมาย สไตล์เก๋ไก๋ เดินกี่รอบก็ไม่เบื่อ ซึ่งร้านค้าร้านขายของต่าง ๆ ที่เข้ามาขายส่วนมากก็เป็นคนในพื้นที่ นับเป็นการกระจายรายได้และสร้างอาชีพสู่ชุมชนได้เป็นอย่างดี
นอกจากนี้ยังมี กิจกรรมมากมายทั้งเวทีการแสดงพื้นบ้านต่างๆ รอบตลาด ขี่ช้างชมโบราณ สถาน ถ่ายรูปคู่เสือ นั่งรถม้า ขับเอทีวี พายเรือในบริเวณตลาดน้ำ การ แสดงศิลปวัฒนธรรมไทย อาทิ โขน รำไทย เพลงฉ่อย เพลงละคร Hilight ยามค่ำคืนกับการแสดง มินิ ไลท์ แอนด์ ซาวน์ วันธรรมดามี 3 รอบ วันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ 4 รอบ เรียกได้ว่ามาที่เดียวได้ทั้งอาหารตาและอิ่มท้องในคราวเดียว ที่สำคัญเปิดบริการให้เที่ยวชมทุกวัน ตั้งแต่เช้ายันค่ำ

ที่มา http://www.tourinthai.com




ประวัติสโมสรฟุตบอล SCG เมืองทองฯยูไนเต็ด (ไทยพรีเมียร์ลีก)



ชื่อสโมสร            สโมสรฟุตบอล SCG เมืองทอง หนองจอก ยูไนเต็ด
สถานที่ตั้ง           115/66  ซอย รามอินทรา 40 ถนน รามอินทรา, บึงกุ่ม, กรุงเทพฯ 10230
สมญานามทีม      กิเลนผยอง
ก่อตั้งเมื่อ            ปี คศ. 1989 (ภายใต้ชื่อ “หนองจอกพิทยานุสรณ์
สนามเหย้า          ยามาฮ่า สเตเดี้ยม (เมืองทองธานี)
ความจุสนาม      17,500 ที่นั่ง
     
เกียรติประวัติสโมสร    
2011    รองชนะเลิศ, ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ก.
2010    ชนะเลิศ, ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ก.
2010   รองชนะเลิศ, ฟุตบอลมูลนิธิไทยคม เอฟเอคัพ
2010   รอบ 4 ทีมสุดท้าย, ฟุตบอลชิงแชมป์เอเซีย เอเอฟซี คัพ
2010    อันดับที่ 1, ฟุตบอลสปอนเซอร์ไทยพรีเมียร์ลีก
2009    อันดับที่ 1, ฟุตบอลสปอนเซอร์ไทยพรีเมียร์ลีก
2008    อันดับที่ 1, ฟุตบอลดิวิชั่น 1
2007    อันดับที่ 1, ฟุตบอลดิวิชั่น 2
     
ความเป็นมาของสโมสร
สโมสรฟุตบอลเมืองทองฯยูไนเต็ดก่อตั้งขึ้นในปี คศ. 1989 ภายใต้ชื่อ “สโมสรฟุตบอลหนองจอกพิทยานุสรณ์” โดยในช่วงเวลานั้นมีประธานสโมสรคนแรกคือนายวรวีย์ มะกูดี. และในปี คศ. 2007 ประธานกลุ่มสยามสปอร์ต นายระวิ โหลทองได้
เทคโอเวอร์สโมสรและขึ้นเป็นประธานสโมสรโดยเปลี่ยนชื่อสโมสรเป็น “สโมสรฟุตบอลเมืองทอง หนองจอก ยูไนเต็ด” ในปีเดียวกันนั้นสโมสรได้ลงทำการแข่งขันฟุตบอลดิวิชั่น 2 และสามารถคว้าแชมป์พร้อมสิทธิ์เลื่อนชั้นขึ้นมาเล่นดิวิชั่น 1 โดยในปีต่อมาสามารถคว้าแชมป์ดิวิชั่น 1 พร้อมสิทธิ์เข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลลีกสูงสุดของประเทศ
 
ในปี 2009 ที่สโมสรเข้าร่วมการแข่งขันลีกสูงสุดของประเทศเป็นปีแรก สโมสรได้เปลี่ยนหัวหน้าผู้ฝึกสอนมาเป็นนาย อรรถพล ปุษบาคม อดีตหัวหน้าผู้ฝึกสอนของบีอีซี เทโร ศาสนที่เคยนำทีมเข้ารอบชิงชนะเลิศฟุตบอลเอเอฟซี แชมป์เปี้ยนส์ลีกมาแล้วเมื่อปี 2002 และในทันทีเมืองทองฯมีศักยภาพที่ดีขึ้น อาจจะตะกุกตะกักในช่วงต้นฤดูกาลแต่ในท้ายที่สุดสามารถทำผลงานได้อย่างสุดยอดและคว้าแชมป์ไทยพรีเมียร์ลีกได้ในปีแรกที่ลงทำการแข่งขัน โดยทำสถิติได้แต้มมากที่สุดในบรรดาทีมที่เคยคว้าแชมป์ลีกรวมถึงสถิติเสียประตูน้อยที่สุดในลีกเช่นกัน นักเตะที่มีส่วนสำคัญในการนำทีมคว้าแชมป์ในปีนั้นและได้รับการยกย่องว่าเป็นนักเตะต่างชาติที่เก่งที่สุดในประวัติศาสตร์ฟุตบอลไทยคือ ซูมาโฮโร่ ยาย่า โดยทำผลงานได้อย่างโดดเด่นตลอดทั้งปี โดยเฉพาะลูกยิงมหัศจรรย์ในช่วงทดเวลาบาดเจ็บทำให้ทีมเอาชนะโอสถสภา เอ็ม 150 คว้าแชมป์ไปอย่างยิ่งใหญ่
 
ในปี 2010 การปรับปรุงและต่อเติมสนามยามาฮ่า สเตเดี้ยมได้เสร็จสมบูรณ์พร้อมสำหรับฤดูกาล 2010 และได้มีการติดต่อทาบทามเรเน่ เดอซาเยียร์ โค้ชชาวเบลเยี่ยมผู้เคยคว้าตำแหน่งโค้ชยอดเยี่ยมแห่งปีของเคลีกมาแล้วเข้ามากุมบังเหียนในฐานะหัวหน้าผู้ฝึกสอนคนใหม่ของทีม. การเริ่มต้นของเรเน่เป็นไปอย่างสวยหรูด้วยการคว้าแชมป์ถ้วยพระราชทานประเภท ก. มาครองเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ด้วยการชนะแชมป์เอฟเอคัพ อย่างการท่าเรือไทย เอฟซี 2 ต่อ 0 เรื่องราวแห่งความสำเร็จยังต่อเนื่องไปจนถึงการที่ทีมสามารถล้มคู่แข่งแย่งแชมป์อย่างชลบุรี เอฟซีไปอย่างขาดลอย 4 ต่อ 1 ที่สนามยามาฮ่า สเตเดี้ยมโดยในนัดดังกล่าวได้บันทึกสถิติยอดผู้ชมสูงสุดขึ้นมาใหม่ด้วยจำนวนผู้ชมกว่า 21,500 คน ในช่วงกลางฤดูกาลเมืองทองฯต้องสูญเสียผู้เล่นหัวใจสำคัญอย่างซุมาโฮโร่ ยาย่าไปให้กับเกงค์ ทีมดังจากลีกเบลเยี่ยมด้วยค่าตัว 25 ล้านบาทซึ่งเป็นสถิติสูงสุดของการโยกย้ายนักเตะในประเทศไทย
 
เมืองทองฯยูไนเต็ดอยู่ในเส้นทางลุ้นแชมป์ทุกถ้วยที่ลงทำการแข่งขันในปี 2010 รวมถึงในการแข่งขันระดับเอเซียอย่างเอเอฟซี คัพที่สามารถเข้าสู่รองรองชนะเลิศได้โดยล้มทีมดังอย่างอัล รายยานที่มีอดีตศูนย์หน้าทีมมิดเดิ้ลสโบรห์อย่างอฟอนโซ่ อัลเวส และในรอบรองชนะเลิศสามารถชนะทีมอัล อิตติฮัต 1 ต่อ 0 ในบ้านสนามยามาฮ่า สเตเดี้ยมก่อนในนัดแรกก่อนพลาดท่าพ่ายในการออกไปเยือนนัดที่ 2 ที่ประเทศซีเรีย นับเป็นทีมฟุตบอลทีมแรกในประวัติศาสตร์ฟุตบอลไทยที่สามารถเข้าสู่รองรองชนะเลิศรายการนี้ได้ สำหรับในศึกไทยพรีเมียร์ลีกนั้นเมืองทองฯสามารถป้องกันแชมป์ได้สำเร็จในนัดรองสุดท้ายของฤดูกาลด้วยการออกไปเสมอทีมแกร่งอย่างเอสซีจี สมุทรสงคราม 0 ต่อ 0 คว้าแชมป์ไทยลีกสมัยที่ 2 ติดต่อกัน สำหรับในส่วนของเอฟเอคัพนั้น เมืองทองฯเข้าถึงรอบชิงชนะเลิศเป็นครั้งแรกเช่นกันโดยพบกับคู่ปรับอย่างชลบุรี เอฟซีก่อนที่จะขับเคี่ยวกันอย่างสนุกและพ่ายให้กับชลบุรีในช่วงต่อเวลาพิเศษ 1 ต่อ 2 คว้าพลาดโอกาสคว้าดับเบิ้ลแชมป์ไปอย่างน่าเสียดาย

เว็บไซต์อย่างป็นทางการ  http://www.mtutd.tv






ประเพณีรับบัว


  • ประวัติความเป็นมาของประเพณีรับบัว

                  

                   รับบัวเป็นประเพณีเก่าแก่สิบทอดกันมาแต่โบราณ ของชาวอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ โดยจัดงานทุกวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี โดยในสมัยก่อน อำเภอบางพลี มีประชาชนอาศัยอยู่แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ คนไทย คนลาว และคนรามัญ (ชาวมอญพระประแดง) ทุกกลุ่มชนต่างทำมาหากินและอยู่ร่วมกันอย่างอบอุ่นเสมือนญาติมิตร

                    ประเพณีรับบัว เกิดขึ้นเพราะความมีน้ำใจที่ดีต่อกันระหว่างคนในท้องถื่นกับคนมอญพระประแดงซึ่งทำนาอยู่ที่ตำบลบางแก้ว ในช่วงออกพรรรษาจะกลับไปทำบุญที่อำเภอพระประแดง ได้เก็บดอกบัวเพื่อบูชาพระหรือถวายแด่พระสงฆ์และฝากเพื่อนบ้าน

                    ในปีต่อมา ชาวอำเภอเมือง และชาวอำเภอพระประแดง ต่างพร้อมใจกันพายเรือมาเก็บดอกบัวที่อำเภอบางพลีและถือเป็นโอกาสอันดีในการนมัสการองค์หลวงพ่อโต อีกทั้งระยะทางระหว่างที่อำเภอพระประแดงกับอำเภอบางพลีไกลกันมาก เพื่อให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลินเรือแต่ละลำจะร้องรำทำเพลงมาตลอดเส้นทาง

                   สำหรับการแห่หลวงพ่อโตทางน้ำในประเพณีรับบัวที่เห็นกันอยู่ทุกวันนี้ สืบเนื่องจาก พ.ศ. 2467 นางจั่นกับพวกชาวบางพลี ได้ร่วมสร้างองค์ปฐมเจดีย์ ณ วัดบางพลีใหญ่ในและจัดงานเฉลิมฉลองโดยแห่ผ้าห่มองค์พระปฐมเจดีย์ และวิวัฒนการมาเป็นแห่องค์หลวงพ่อโตจำลองอัญเชิญไปตามลำคลองสำโรง เพื่อให้ประชาชนได้นมัสการ ดอกไม้ที่ใช้นมัสการคือ ดอกบัว



โยนบัว ปี 51




สุนทรภู่


สุนทรภู่
สุนทรภู่


ขอขอบคุณภาพประกอบจาก pantip.com
          ถ้าเอ่ยชื่อ "สุนทรภู่" เชื่อว่าน้อยคนนักที่จะไม่รู้จักกวีชาวไทยที่มีชื่อเสียงก้องโลก โดยเฉพาะกลอนนิทานเรื่อง "พระอภัยมณี" จนได้รับยกย่องจากองค์การยูเนสโกให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก ด้านงานวรรณกรรม  หรือ “มหากวีแห่งรัตนโกสินทร์" หรือ “เชกสเปียร์แห่งประเทศไทย" และคงเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า "วันที่ 26 มิถุนายน" ของทุกปีคือ "วันสุนทรภู่" ซึ่งมักจะมีการจัดนิทรรศการ ประกวดแต่งคำกลอน เพื่อแสดงถึงการรำลึกถึง เพราะฉะนั้น วันนี้กระปุกดอทคอมจึงไม่พลาด ขอพาไปเปิดประวัติ "วันสุนทรภู่" ให้มากขึ้นค่ะ...

ชีวประวัติ "สุนทรภู่"

          สุนทรภู่ กวีสำคัญสมัยต้นรัตนโกสินทร์ เกิดวันจันทร์ เดือน 8 ขึ้น 1 ค่ำ ปีมะเมีย จุลศักราช 1148 เวลา 2 โมงเช้า หรือตรงกับวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2329 เวลา 8.00 น. นั่นเอง ซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ณ บริเวณด้านเหนือของพระราชวังหลัง (บริเวณสถานีรถไฟบางกอกน้อยปัจจุบัน) บิดาของท่านเป็นชาวกร่ำ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ชื่อพ่อพลับ ส่วนมารดาเป็นชาวเมืองฉะเชิงเทรา ชื่อแม่ช้อย สันนิษฐานว่ามารดาเป็นข้าหลวงอยู่ในพระราชวังหลัง เชื่อว่าหลังจากสุนทรภู่เกิดได้ไม่นาน บิดามารดาก็หย่าร้างกัน บิดาออกไปบวชอยู่ที่วัดป่ากร่ำ ตำบลบ้านกร่ำ อำเภอแกลง อันเป็นภูมิลำเนาเดิม ส่วนมารดาได้เข้าไปอยู่ในพระราชวังหลัง ถวายตัวเป็นนางนมของพระองค์เจ้าหญิงจงกล พระธิดาในเจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ ดังนั้น สุนทรภู่จึงได้อยู่ในพระราชวังหลังกับมารดา และได้ถวายตัวเป็นข้าในกรมพระราชวังหลัง ซึ่งสุนทรภู่ยังมีน้องสาวต่างบิดาอีกสองคน ชื่อฉิมและนิ่ม อีกด้วย

          "สุนทรภู่" ได้รับการศึกษาในพระราชวังหลังและที่วัดชีปะขาว (วัดศรีสุดาราม) ต่อมาได้เข้ารับราชการเป็นเสมียนนายระวางกรมพระคลังสวน ในกรมพระคลังสวน แต่ไม่ชอบทำงานอื่นนอกจากแต่งบทกลอน ซึ่งสามารถแต่งได้ดีตั้งแต่ยังรุ่นหนุ่ม เพราะตั้งแต่เยาว์วัยสุนทรภู่มีนิสัยรักแต่งกลอนยิ่งกว่างานอื่น ครั้งรุ่นหนุ่มก็ไปเป็นครูสอนหนังสืออยู่ที่วัดศรีสุดารามในคลองบางกอกน้อย ได้แต่งกลอนสุภาษิตและกลอนนิทานขึ้นไว้ เมื่ออายุราว 20 ปี

          ต่อมาสุนทรภู่ลอบรักกับนางข้าหลวงในวังหลังคนหนึ่ง ชื่อแม่จัน ซึ่งเป็นบุตรหลานผู้มีตระกูล จึงถูกกรมพระราชวังหลังกริ้วจนถึงให้โบยและจำคุกคนทั้งสอง แต่เมื่อกรมพระราชวังหลังเสด็จทิวงคตในปี พ.ศ. 2349 จึงมีการอภัยโทษแก่ผู้ถูกลงโทษทั้งหมดถวายเป็นพระราชกุศล หลังจากสุนทรภู่ออกจากคุก เขากับแม่จันก็เดินทางไปหาบิดาที่ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง และมีบุตรด้วยกัน 1 คน ชื่อ “พ่อพัด” ได้อยู่ในความอุปการะของเจ้าครอกทองอยู่ ส่วนสุนทรภู่กับแม่จันก็มีเรื่องระหองระแหงกันเสมอ จนภายหลังก็เลิกรากันไป 

          หลังจากนั้น สุนทรภู่ ก็เดินทางเข้าพระราชวังหลัง และมีโอกาสได้ติดตามพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ในฐานะมหาดเล็ก ตามเสด็จไปในงานพิธีมาฆบูชา ที่อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2350 และเขาก็ได้แต่ง “นิราศพระบาท” พรรณนาเหตุการณ์ในการเดินทางคราวนี้ด้วย และหลังจาก “นิราศพระบาท” ก็ไม่ปรากฏผลงานใดๆ ของสุนทรภู่อีกเลย 

          จนกระทั่งเข้ารับราชการในปี พ.ศ. 2359 ในรัชสมัยรัชกาลที่ 2 สุนทรภู่ได้เข้ารับราชการในกรมพระอาลักษณ์ และเป็นที่โปรดปรานของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จนแต่งตั้งให้เป็นกวีที่ปรึกษาและคอยรับใช้ใกล้ชิด เนื่องจากเมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงแต่งกลอนบทละครในเรื่อง "รามเกียรติ์" ติดขัดไม่มีผู้ใดต่อกลอนได้ต้องพระราชหฤทัย จึงโปรดให้สุนทรภู่ทดลองแต่ง ปรากฏว่าแต่งได้ดีเป็นที่พอพระทัย จึงทรงพระกรุณาฯ เลื่อนให้เป็น "ขุนสุนทรโวหาร"

          ต่อมาในราว พ.ศ. 2364 สุนทรภู่ต้องติดคุกเพราะเมาสุราอาละวาดและทำร้ายท่านผู้ใหญ่ แต่ติดอยู่ไมนานก็พ้นโทษ เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงติดขัดบทพระราชนิพนธ์เรื่อง "สังข์ทอง" ไม่มีใครแต่งได้ต้องพระทัย ทรงให้สุนทรภู่ทดลองแต่งก็เป็นที่พอพระราชหฤทัยภายหลังพ้นโทษ สุนทรภู่ได้เป็นพระอาจารย์ถวายอักษรสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอาภรณ์ พระราชโอรสในรัชกาลที่ 2 และ เชื่อกันว่าสุนทรภู่แต่งเรื่อง "สวัสดิรักษา" ในระหว่างเวลานี้ ซึ่งในระหว่างรับราชการอยู่นี้ สุนทรภู่แต่งงานใหม่กับแม่นิ่ม มีบุตรด้วยกันหนึ่งคน ชื่อ "พ่อตาบ
          "สุนทรภู่" รับราชการอยู่เพียง 8 ปี เมื่อถึงปี พ.ศ. 2367 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จสวรรคต หลังจากนั้นสุนทรภู่ก็ออกบวชที่วัดราชบูรณะ (วัดเลียบ) อยู่เป็นเวลา 18 ปี ระหว่างนั้นได้ย้ายไปอยู่วัดต่างๆ หลายแห่ง ได้แก่ วัดเลียบ, วัดแจ้ง, วัดโพธิ์, วัดมหาธาตุ และวัดเทพธิดาราม ซึ่งผลจากการที่ภิกษุภู่เดินทางธุดงค์ไปที่ต่างๆ ทั่วประเทศ ปรากฏผลงานเป็นนิราศเรื่องต่างๆ มากมาย งานเขียนชิ้นสุดท้ายที่ภิกษุภู่แต่งไว้ก่อนลาสิกขาบท คือ รำพันพิลาป โดยแต่งขณะจำพรรษาอยู่ที่วัดเทพธิดาราม พ.ศ. 2385 ทั้งนี้ ระหว่างที่ออกเดินทางธุดงค์ ภิกษุภู่ได้รับการอุปการะจากพระองค์เจ้าลักขณานุคุณจนพระองค์ประชวรสิ้นพระชมน์ สุนทรภู่จึงลาสิกขาบท รวมอายุพรรษาที่บวชได้ประมาณ 10 พรรษา สุนทรภู่ออกมาตกระกำลำบากอยู่พักหนึ่งจึงกลับเข้าไปบวชอีกครั้งหนึ่ง แต่อยู่ได้เพียง 2 พรรษา ก็ลาสิกขาบท และถวายตัวอยู่กับเจ้าฟ้าน้อย หรือสมเด็จเจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ พระราชวังเดิม รวมทั้งได้รับอุปการะจากกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพอีกด้วย 
          ในสมัยรัชกาลที่ 4 เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ครองราชย์ ทรงสถาปนาเจ้าฟ้า กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ เป็นพระบาทสมเด็จพระปิ่นกล้าเจ้าอยู่หัว ประทับอยู่วังหน้า (พระบวรราชวัง) สุนทรภู่จึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น "พระสุนทรโวหาร" ตำแหน่งเจ้ากรมพระอาลักษณ์ฝ่ายบวรราชวังในปี พ.ศ. 2394 และรับราชการต่อมาได้ 4 ปี ก็ถึงแก่มรณกรรมใน พ.ศ. 2398 รวมอายุได้ 70 ปี ในเขตพระราชวังเดิม ใกล้หอนั่งของพระยามนเทียรบาล (บัว) ที่เรียกชื่อกันว่า "ห้องสุนทรภู่" 
          สำหรับทายาทของสุนทรภู่นั้น เชื่อกันว่าสุนทรภู่มีบุตรชาย 3 คน คือ"พ่อพัด" เกิดจากภรรยาคนแรกคือแม่จัน "พ่อตาบ" เกิดจากภรรยาคนที่สองคือแม่นิ่ม และ "พ่อนิล" เกิดจากภรรยาที่ชื่อแม่ม่วง นอกจากนี้ ปรากฏชื่อบุตรบุญธรรมอีกสองคน ชื่อ "พ่อกลั่น" และ "พ่อชุบ" อย่างไรก็ตาม ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ทรงตราพระราชบัญญัตินามสกุลขึ้น และตระกูลของสุนทรภู่ได้ใช้นามสกุลต่อมาว่า "ภู่เรือหงส์"

ผลงานของสุนทรภู่
          หนังสือบทกลอนของสุนทรภู่มีอยู่มาก เท่าที่ปรากฏเรื่องที่ยังมีฉบับอยู่ในปัจจุบันนี้คือ…

ประเภทนิราศ 
          - นิราศเมืองแกลง (พ.ศ. 2349) - แต่งเมื่อหลังพ้นโทษจากคุก และเดินทางไปหาพ่อที่เมืองแกลง 

          - นิราศพระบาท (พ.ศ. 2350) - แต่งหลังจากกลับจากเมืองแกลง และต้องตามเสด็จพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ไปนมัสการรอยพระพุทธบาทที่จังหวัดสระบุรีในวันมาฆบูชา 

          - นิราศภูเขาทอง (ประมาณ พ.ศ. 2371) - แต่งโดยสมมุติว่า เณรหนูพัด เป็นผู้แต่งไปนมัสการพระเจดีย์ภูเขาทองที่จังหวัดอยุธยา 

          - นิราศสุพรรณ (ประมาณ พ.ศ. 2374) - แต่งเมื่อครั้งยังบวชอยู่ และไปค้นหายาอายุวัฒนะที่จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นผลงานเรื่องเดียวของสุนทรภู่ที่แต่งเป็นโคลง 

          - นิราศวัดเจ้าฟ้า (ประมาณ พ.ศ. 2375) - แต่งเมื่อครั้งยังบวชอยู่ และไปค้นหายาอายุวัฒนะตามลายแทงที่วัดเจ้าฟ้าอากาศ (ไม่ปรากฏว่าที่จริงคือวัดใด) ที่จังหวัดอยุธยา 

          - นิราศอิเหนา (ไม่ปรากฏ, คาดว่าเป็นสมัยรัชกาลที่ 3) แต่งเป็นเนื้อเรื่องอิเหนารำพันถึงนางบุษบา 

          - รำพันพิลาป (พ.ศ. 2385) - แต่งเมื่อครั้งจำพรรษาอยู่ที่วัดเทพธิดาราม แล้วเกิดฝันร้ายว่าชะตาขาด จึงบันทึกความฝันพร้อมรำพันความอาภัพของตัวไว้เป็น "รำพันพิลาป" จากนั้นจึงลาสิกขาบท 

          - นิราศพระประธม (พ.ศ. 2385) –เชื่อว่าแต่งเมื่อหลังจากลาสิกขาบทและเข้ารับราชการในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ไปนมัสการพระประธมเจดีย์ (หรือพระปฐมเจดีย์) ที่เมืองนครชัยศรี 

          - นิราศเมืองเพชร (พ.ศ. 2388) - แต่งเมื่อเข้ารับราชการในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เชื่อว่าไปธุระราชการอย่างใดอย่างหนึ่ง นิราศเรื่องนี้มีฉบับค้นพบเนื้อหาเพิ่มเติมซึ่ง อ.ล้อม เพ็งแก้ว เชื่อว่า บรรพบุรุษฝ่ายมารดาของสุนทรภู่เป็นชาวเมืองเพชร

ประเภทนิทาน
          เรื่องโคบุตร, เรื่องพระอภัยมณี, เรื่องพระไชยสุริยา, เรื่องลักษณวงศ์, เรื่องสิงหไกรภพ

พระอภัยมณี
พระอภัยมณี

สุดสาคร
สุดสาคร

ประเภทสุภาษิต          - สวัสดิรักษา- คาดว่าประพันธ์ในสมัยรัชกาลที่ 2 ขณะเป็นพระอาจารย์ถวายอักษรแด่เจ้าฟ้าอาภรณ์

          - สุภาษิตสอนหญิง - เป็นหนึ่งในผลงานซึ่งยังเป็นที่เคลือบแคลงว่า สุนทรภู่เป็นผู้ประพันธ์จริงหรือไม่

          - เพลงยาวถวายโอวาท - คาดว่าประพันธ์ในสมัยรัชกาลที่ 3 ขณะเป็นพระอาจารย์ถวายอักษรแด่เจ้าฟ้ากลางและเจ้าฟ้าปิ๋ว

ประเภทบทละคร          - เรื่องอภัยณุรา ซึ่งเขียนขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 เพื่อถวายพระองค์เจ้าดวงประภา พระธิดาในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว

ประเภทบทเสภา
          - เรื่องขุนช้างขุนแผน (ตอนกำเนิดพลายงาม)

          - เรื่องพระราชพงศาวดาร

ประเภทบทเห่กล่อม
          แต่งขึ้นสำหรับใช้ขับกล่อมหม่อมเจ้าในพระองค์เจ้าลักขณานุคุณ กับพระเจ้าลูกยาเธอในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เท่าที่พบมี 4 เรื่องคือ เห่จับระบำ, เห่เรื่องพระอภัยมณี, เห่เรื่องโคบุตร เห่เรื่องพระอภัยมณี, เห่เรื่องกากี


ตัวอย่างวรรคทองที่มีชื่อเสียงของสุนทรภู่

          ด้วยความที่สุนทรภู่เป็นศิลปินเอกที่มีผลงานทางวรรณกรรม วรรณคดีมากมาย ทำให้ผลงานหลาย ๆ เรื่องของ สุนทรภู่ ถูกนำไปเป็นบทเรียนให้เด็กไทยได้ศึกษา จึงทำให้มีหลาย ๆ บทประพันธ์ที่คุ้นหู หรือ "วรรคทอง" ยกตัวอย่างเช่น

 บางตอนจาก นิราศภูเขาทอง

ถึงโรงเหล้าเตากลั่นควันโขมง
มีคันโพงผูกสายไว้ปลายเสา
โอ้บาปกรรมน้ำนรกเจียวอกเรา
ให้มัวเมาเหมือนหนึ่งบ้าเป็นน่าอาย

ทำบุญบวชกรวดน้ำขอสำเร็จ
สรรเพชญโพธิญาณประมาณหมาย
ถึงสุราพารอดไม่วอดวาย
ไม่ใกล้กรายแกล้งเมินก็เกินไป

ไม่เมาเหล้าแล้วแต่เรายังเมารัก
สุดจะหักห้ามจิตคิดไฉน
ถึงเมาเหล้าเช้าสายก็หายไป
แต่เมาใจนี้ประจำทุกค่ำคืนฯ



ถึงบางพูดพูดดีเป็นศรีศักดิ์
มีคนรักรสถ้อยอร่อยจิต
แม้นพูดชั่วตัวตายทำลายมิตร
จะชอบผิดในมนุษย์เพราะพูดจา


 บางตอนจาก นิราศอิเหนา

จะหักอื่นขืนหักก็จักได้
หักอาลัยนี้ไม่หลุดสุดจะหัก
สารพัดตัดขาดประหลาดนัก
แต่ตัดรักนี้ไม่ขาดประหลาดใจ

 บางตอนจาก พระอภัยมณี

บัดเดี๋ยวดังหงั่งเหง่งวังเวงแว่ว
สะดุ้งแล้วเหลียวแลชะแง้หา
เห็นโยคีขี่รุ้งพุ่งออกมา
ประคองพาขึ้นไปจนบนบรรพต

แล้วสอนว่าอย่าไว้ใจมนุษย์
มันแสนสุดลึกล้ำเหลือกำหนด
ถึงเถาวัลย์พันเกี่ยวที่เลี้ยวลด
ก็ไม่คดเหมือนหนึ่งในน้ำใจคน

(พระฤาษีสอนสุดสาคร)




แม้นใครรักรักมั่งชังชังตอบ
ให้รอบคอบคิดอ่านนะหลานหนา
รู้สิ่งไรไม่สู้รู้วิชา
รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี

(พระฤาษีสอนสุดสาคร)



อันนินทากาเลเหมือนเทน้ำ
ไม่ชอกช้ำเหมือนเอามีดมากรีดหิน
แค่องค์พระปฎิมายังราคิน
คนเดินดินหรือจะสิ้นคนนินทา



เขาย่อมเปรียบเทียบความว่ายามรัก    
แต่น้ำผักต้มขมชมว่าหวาน
ครั้นรักจางห่างเหินไปเนิ่นนาน
แต่น้ำตาลว่าเปรี้ยวไม่เหลียวแล



ถึงม้วยดินสิ้นฟ้ามหาสมุทร
ไม่สิ้นสุดความรักสมัครสมาน
แม้เกิดในใต้ฟ้าสุธาธาร
ขอพบพานพิศวาสไม่คลาดคลา

แม้เนื้อเย็นเป็นห้วงมหรรณพ
พี่ขอพบศรีสวัสดิ์เป็นมัจฉา
แม้เป็นบัวตัวพี่เป็นภุมรา
เชยผกาโกสุมประทุมทอง

แม้เป็นถ้ำอำไพใคร่เป็นหงส์
จะร่อนลงสิงสู่เป็นคู่สอง
ขอติดตามทรามสงวนนวลละออง
เป็นคู่ครองพิศวาสทุกชาติไป

(ตอน พระอภัยมณีเกี้ยวนางละเวง ได้ถูกนำไปดัดแปลงเล็กน้อยกลายเป็นเพลง "คำมั่นสัญญา")

 บางตอนจาก เพลงยาวถวายโอวาท

อันความคิดวิทยาเหมือนอาวุธ
ประเสริฐสุดซ่อนใส่เสียในฝัก
สงวนคมสมนึกใครฮึกฮัก
จึงค่อยชักเชือดฟันให้บรรลัย



อันอ้อยตาลหวานลิ้นแล้วสิ้นซาก
แต่ลมปากหวานหูไม่รู้หาย
แม้นเจ็บอื่นหมื่นแสนจะแคลนคลาย
เจ็บจนตายเพราะเหน็บให้เจ็บใจ

 บางตอนจาก สุภาษิตสอนหญิง

มีสลึงพึงบรรจบให้ครบบาท
อย่าให้ขาดสิ่งของต้องประสงค์
จงมักน้อยกินน้อยค่อยบรรจง
อย่าจ่ายลงให้มากจะยากนาน



จะพูดจาปราศรัยกับใครนั้น
อย่าตะคั้นตะคอกให้เคืองหู
ไม่ควรพูดอื้ออึ้งขึ้นมึงกู
คนจะหลู่ล่วงลามไม่ขามใจ



เป็นมนุษย์สุดนิยมเพียงลมปาก
จะได้ยากโหยหิวเพราะชิวหา
แม้นพูดดีมีคนเขาเมตตา
จะพูดจาพิเคราะห์ให้เหมาะความ



รู้วิชาก็ให้รู้เป็นครูเขา
จึงจะเบาแรงตนช่วยขนขวาย
มีข้าไทใช้สอย ค่อยสบาย
ตัวเป็นนายโง่เง่าบ่าวไม่เกรง


 บางตอนจาก ขุนช้างขุนแผน ตอนกำเนิดพลายงาม

แม่รักลูก ลูกก็รู้ อยู่ว่ารัก
ใครอื่นสัก หมื่นแสน ไม่แม้นเหมือน
จะกินนอนวอนว่า เมตตาเตือน
จะจากเรือน ร้างแม่ ก็แต่กาย



ลูกผู้ชายลายมือนั้นคือยศ
เจ้าจงอตส่าห์ทำสม่ำเสมียน

(ขุนแผนสอนพลายงาม)

 บางตอนจาก นิราศภูเขาทอง

ถึงบางพูดพูดดีเป็นศรีศักดิ์
มีคนรักรสถ้อยอร่อยจิต
แม้พูดชั่วตัวตายทำลายมิตร
จะชอบผิดในมนุษย์เพราะพูดจาฯ

 บางตอนจาก นิราศพระบาท

เจ้าของตาลรักหวานขึ้นปีนต้น
เพราะดั้นด้นอยากลิ้มชิมรสหวาน
ครั้นได้รสสดสาวจากจาวตาล
ย่อมซาบซ่านหวานซึ้งตรึงถึงทรวง

ไหนจะยอมให้เจ้าหล่นลงเจ็บอก
เพราะอยากวกขึ้นลิ้นชิมของหวง
อันรสตาลหวานละม้ายคล้ายพุ่มพวง
พี่เจ็บทรวงช้ำอกเหมือนตกตาล... 


ที่มาของวันสุนทรภู่          องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ(UNESCO) ซึ่งเป็นผู้ที่มีหน้าที่ส่งเสริมและเผยแพร่ผลงาน ด้านวัฒนธรรมของประเทศสมาชิกต่างๆ ทั่วโลก ด้วยการประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติบุคคลผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมระดับโลก ในวาระครบรอบ 100 ปีขึ้นไป ประจำทุกปี โดยมีวัตถุประสงค์คือ เพื่อเผยแพร่เกียรติคุณและผลงานของผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรมระดับโลกให้ปรากฎแก่มวลสมาชิกทั่วโลก และเพื่อเชิญชวนให้ประเทศสมาชิกมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมเฉลิมฉลองร่วมกับประเทศที่มีผู้ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ

          ในการนี้ รัฐบาลไทยโดยคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ กระทรวงศึกษาธิการ จะเป็นผู้สืบค้นบรรพบุรุษไทยผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม เพื่อให้ยูเนสโกประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติและได้ประกาศยกย่อง "สุนทรภู่" ให้เป็นบุคคลผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมระดับโลก โดยในวาระครบรอบ 200 ปีเกิด เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2529 ต่อมาในปี พ.ศ. 2530 นายเสวตร เปี่ยมพงศ์สานต์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ได้ดำเนินการจัดตั้งสถาบันสุนทรภู่ขึ้น เพื่อสนับสนุนการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับชีวิตและงานของสุนทรภู่ ให้แพร่หลายในหมู่เยาวชนและประชาชนชาวไทยมากยิ่งขึ้น ดังนั้น ทางรัฐบาลจึงได้กำหนดให้ วันที่ 26 มิถุนายน ของทุกปีเป็น "วันสุนทรภู่" ซึ่งนับแต่นั้น เมื่อถึงวันสุนทรภู่ จะมีการจัดงานรำลึกถึงสุนทรภู่ตามสถานที่ต่างๆ เช่น ที่พิพิธภัณฑ์สุนทรภู่ "วัดเทพธิดาราม" และ ที่จังหวัดระยอง และมีการจัดกิจกรรมเชิดชูเกียรติคุณและส่งเสริมศิลปะการประพันธ์บทกวีจากองค์กรต่างๆ โดยทั่วไป

          ทั้งนี้ ผลงานของสุนทรภู่ยังเป็นที่นิยมในสังคมไทยอย่างต่อเนื่องตลอดมาไม่ขาดสาย และมีการนำไปดัดแปลงเป็นสื่อต่างๆ เช่น หนังสือการ์ตูน ภาพยนตร์ เพลง รวมถึงละคร มีการก่อสร้างอนุสาวรีย์สุนทรภู่ ไว้ที่ ตำบลบ้านกร่ำ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ซึ่งเป็นบ้านเกิดของบิดาของสุนทรภู่ และเป็นกำเนิดผลงานนิราศเรื่องแรกของท่านคือ นิราศเมืองแกลง

กิจกรรมที่ควรปฏิบัติ ในวันสุนทรภู่
          1. มีการจัดนิทรรศการเกี่ยวกับประวัติชีวิตและผลงาน
          2. มีการแสดงผลงานประเภทนิทานฯ ของสุนทรภู่
          3. มีการประกวด แข่งขัน ประชันสักวา ตอบคำถามเกี่ยวกับประวัติชีวิต และผลงานของสุนทร

ตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง




          ตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง ตำบลบางน้ำผึ้ง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ มีพื้นที่สีเขียวที่มีรูปร่างคล้ายกระเพาะหมูหรือแอกวัว หรือเรียกว่า คุ้งกระเพาะหมู ซึ่งเป็นพื้นที่เกษตรกรรมที่ปลอดสารพิษ ท่ามกลางความเจริญเติบโตของเมือง มีเนื้อที่รวม 11,819 ไร่ โอบล้อมด้วยแม่น้ำเจ้าพระยา และที่สำคัญคุ้งกระเพาะหมูแห่งนี้ได้ “อนุรักษ์ให้เป็นพื้นที่สีเขียวตั้งแต่ปี 2520 พื้นป่าแห่งนี้จึงเป็นแหล่งผลิตอากาศบริสุทธิ์ ให้กับประชาชนในเขตจังหวัดสมุทรปราการและกรุงเทพมหานคร ช่วยกรองฝุ่นละอองและมลพิษทางอากาศ ที่เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรมที่มีอยู่มากมาย” และส่งผลให้พื้นที่บริเวณคุ้งกระเพาะหมูนี้ มีพันธุ์พืชนานาชนิดขึ้นอย่างหนาแน่น มีพันธุ์นก รวมทั้งแมลงนานาชนิดมาอาศัยอยู่จำนวนมาก

องค์การบริหารส่วนตำบลบางน้ำผึ้งและประชาชนบางน้ำผึ้ง ได้ร่วมใจปลุกวิถีชีวิตดั้งเดิมขึ้นมาใหม่ พร้อมใจสร้างตลาดขึ้นมาใหม่ “ตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง” เพื่อใช้เป็นสถานที่สำหรับขายสินค้าของชุมชนบางน้ำผึ้ง และตำบลใกล้เคียงฝั่งเมืองพระประแดง จนถึงปัจจุบันเติบโตจนเป็น แหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ของจังหวัดสมุทรปราการ นับเป็นตลาดใกล้กรุงที่มีสินค้าหลากหลายทั้งของกินของใช้ของฝากนานาชนิด จัดเป็นซุ้มให้มีทางเดินยาวกว่า 2 กิโลเมตร ขนานไปกับคลองซอยสายเล็ก ๆ ที่แตกแขนงจากแม่น้ำเจ้าพระยาเข้ามาในพื้นที่ที่ทำการเกษตรของชาวบ้าน จัดจำหน่ายต้นไม้นานาพันธุ์, ปลาสวยงามหลากชนิด, และผลิตผลของชาวบ้าน เช่น มะพร้าวอ่อน มะม่วงน้ำดอกไม้ กล้วยหอม ชมพู่มะเหมี่ยว, ขนมหวานพื้นเมืองฝีมือชาวบ้าน เช่น ขนมถ้วย ขนมจาก กล้วยแขก ม้าฮ่อ ขนมตระกูลทอง กาละแมกวน ฝอยเงินที่ใช้ไข่ขาวต้มในน้ำเชื่อมรสหวานชุ่มคอ หมี่กรอบโบราณ ฯลฯ อาหารคาว เช่น ก๋วยเตี๋ยวลุยสวน ไส้กรอกโบราณ ห่อหมกหมู หอยทอดในถาดขนมครก ไก่สะเต๊ะ น้ำพริกต่าง ๆ พร้อมเลือกผักเคียงข้างจาน เช่น ผักกระถิน ผักบุ้ง ผักหนาม ผักดองชนิดต่างๆ ที่ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการแปรรูปพืชผักให้มีรับประทานนอกฤดูกาล

       นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์รวมสินค้า OTOP ที่สร้างสรรค์จากคนในชุมชนบางน้ำผึ้งและตำบลใกล้เคียง ในจังหวัดสมุทรปราการ เช่น ดอกไม้เกล็ดปลา บ้านธูปสมุนไพร ผลิตภัณฑ์จากทะเลอย่างกุ้งแห้ง กะปิ หอยดอง ภาพประดิษฐ์จากรกมะพร้าว ของตกแต่งบ้าน – ดอกหญ้าหลากสี, โมบายล์ ลูกตีนเป็ดรูปร่างแปลกตา เป็นต้นเป็น

ตลาดน้ำบางน้ำผึ้งจะมีเฉพาะวันเสาร์และอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 08.00 - 14.00 น

เมืองโบราณ 

สถานที่: Ancient Siam
ที่ตั้ง: กม.ที่ 33 ถ.สุขุมวิท
เวลาทำการ: 

8 นาฬิกา - 17 นาฬิกา
ค่าบัตรเข้าชม:
ชาวต่างชาติ ผู้ใหญ่ 400 บาท เด็ก 200 บาท
คนไทย 250 บาท เด็ก 125 บาท ค่าขับรถส่วนตัวเข้าชม 300 บาท
      เมืองโบราณ - ตั้งอยู่ในเขตตำบลบางปูใหม่ บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 33 ถนนสุขุมวิท (สายเก่า) ห่างจากตัวจังหวัด 8 กิโลเมตร เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่รวบรวมสถานที่สำคัญ ๆ ในประเทศ มีพื้นที่ประมาณ 800 ไร่ เริ่มก่อสร้างเมื่อปลายปี 2506 ปูชนียสถานที่สำคัญๆ เช่น เขาพระวิหาร ปราสาทหินพนมรุ้ง วัดมหาธาตุสุโขทัย พระพุทธบาทสระบุรี พระธาตุเมืองนคร พระธาตุไชยา ฯลฯ โดยสร้างให้มีขนาดเล็กลง บางแห่งเท่าแบบจริงการสร้าง ฝีมือประณีต นอกจากนั้นยังเป็นแหล่งรวบรวมศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านที่นับวันจะสูญหายไปจากสังคมยุคใหม่ ผู้ที่ต้องการศึกษาค้นคว้าเรื่องราวของประเทศไทยจะศึกษาได้จากเมืองโบราณแห่งนี้
       สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ บริษัทเมืองโบราณ จำกัด ตำบลบางปู กิโลเมตรที่ 33 โทร. 02 709-1644  สำนักงานกรุงเทพฯ มุมอนุสาวรีย์ ประชาธิปไตย ถนนราชดำเนินกลาง โทร. 0 2224 1057, 0 2226 1936-7

การเดินทาง 

     ใช้เส้นทางด่วน ปลายทางที่สำโรง-สมุทรปราการ ถึงสามแยกสมุทรปราการให้เลี้ยวซ้ายไปตามถนนสุขุมวิทสายเก่า (ไปทางบางปู) ประมาณกิโลเมตรที่ 33  เมืองโบราณจะอยู่ทางด้านซ้ายมือ หรือ
รถโดยสารประจำทาง สาย 25, 102, 145 รถโดยสารปรับอากาศ สาย 25, 102, 142, 142, 507, 508, 511 (สายใต้ใหม่-ปากน้ำ), 536 ไปลงตลาดปากน้ำ แล้วต่อรถสองแถวสาย 36  หรือสองแถว ปากน้ำ-วัดตำหรุ, ปากน้ำ-นิคมบางปู และ ปากน้ำ-คลองด่าน ผ่านเมืองโบราณ
การเดินทางรถประจำทางสาย 511 (ปิ่นเกล้า-ปากน้ำ) นั่งจนสุดสายและต่อ รถสองแถวสาย 36 ไปเมืองโบราณค่าโดยสารรถสองแถว ราคา 8 บาท
              
             ขับรถจากกรุงเทพเข้าสมุทรปราการทางถนนสุขุมวิท เมื่อเข้าถึงตัวเมืองสมุทรปราการให้สังเกตป้าย ชลบุรี ชิดซ้าย ให้ตามเส้นทางไป เมืองโบราณจะห่างจากศาลากลางจังหวัดประมาณ 8.1 กม. ถ้ามาทางถนนศรีนครินทร์เข้าเมืองสมุทรปราการจดสุดสาย จากนั้นเลี้ยวซ้ายเข้าถนนสุขุมวิท(สายเก่า) จากจุดนั้นถึงเมืองโบราณเป็นระยะทางประมาณ 6.92 กม. 

วัดพระแก้ว

         วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า วัดพระแก้ว นั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นพร้อมกับการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๕ แล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๓๒๗  เป็นวัดที่สร้างขึ้นในเขตพระบรมมหาราชวัง ตามแบบวัดพระศรีสรรเพชญ สมัยอยุธยา วัดนี้อยู่ในเขตพระราชฐานชั้นนอก ทางทิศตะวันออก มีพระระเบียงล้อมรอบเป็นบริเวณ เป็นวัดคู่กรุงที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา ใช้เป็นที่บวชนาคหลวง และประชุมข้าทูลละอองพระบาทถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา
      รัชกาลที่ ๑ โปรดเกล้าให้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรหรือพระแก้วมรกต พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของไทย มาประดิษฐาน ณ ที่นี้ วัดพระศรีรัตนศาสดารามนี้ ภายหลังจากการสถาปนาแล้ว ก็ได้รับการปฏิสังขรณ์สืบต่อมาทุกรัชกาล เพราะเป็นวัดสำคัญ จึงมีการปฏิสังขรณ์ใหญ่ทุก ๕๐ ปี คือในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลปัจจุบัน เนื่องในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ครบ ๒๐๐ ปี ในปี พ.ศ. ๒๕๒๕ ที่ผ่านมา การบูรณปฏิสังขรณ์ที่ผ่านมา มุ่งอนุรักษ์สถาปัตยกรรมและศิลปกรรมอันเป็นมรดกชิ้นเอกของชาติ ให้คงความงามและรักษาคุณค่าของช่างศิลปไทยไว้อย่างดีที่สุด เพื่อให้วัดพระศรีรัตนศาสดารามนี้อยู่คู่กับกรุงรัตนโกสินทร์ตลอดไป
                                             
พระอุโบสถ
     สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๑ เป็นพระอุโบสถขนาดใหญ่ หลังคาลด ๔ ระดับ ๓ ซ้อน มีช่อฟ้า ๓ ชั้น ปิดทองประดับกระจก ตัวพระอุโบสถมีระเบียงเดินได้โดยรอบ มีหลังคาเป็นพาไลคลุม รับด้วยเสานางรายปิดทองประดับกระจกทั้งต้น พนักระเบียงรับเสานางราย ทำเป็นลูกฟักประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีอย่างจีน ตัวพระอุโบสถมีฐานปัทม์รับอีกชั้นหนึ่ง ประดับครุฑยุดนาคหล่อด้วยโลหะปิดทอง มีเสารายเทียนหล่อด้วยทองแดงล้อมรอบทั้งสี่ด้าน

?????? ผนังพระอุโบสถ ในรัชกาลที่ ๑ เขียนลายรดน้ำบนพื้นชาดแดง รัชกาลที่ ๓ โปรดเล้าฯ ให้ปั้นลายพุ่มข้าวบิณฑ์ ปิดทองประดับกระจก เพื่อให้เข้ากับผนังมณฑป ปิดทองประดับกระจก บานพระทวารและพระบัญชรประดับมุกทั้งหมด ฝีมือช่างสมัยรัชกาลที่ ๑ ที่เชิงบันไดมีสิงห์หล่อด้วยสำริดบันไดละคู่ รวม ๑๒ ตัว โดยได้แบบมาจากเขมรคู่หนึ่ง แล้วหล่อเพิ่มอีก ๑๐ ตัว
                                 

พระพุทธรูปสำคัญภายในพระอุโบสถ
พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรภายในพระอุโบสถเป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร(พระแก้วมรกต)
พระพุทธรูปปางสมาธิ ทำด้วยมณีสีเขียวเนื้อเดียวกันทั้งองค์ หน้าตักกว้าง ๔๘.๓ ซม. สูงตั้งแต่ฐานถึงยอดพระเศียร ๖๖ ซม. ประดิษฐานอยู่ในบุษบกทองคำ พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มีพระราชศรัทธาสร้างเครื่องทรงถวายเป็นพุทธบูชา สำหรับฤดูร้อนและฤดูฝน
เครื่องทรงสำหรับฤดูร้อน เป็นเครื่องต้นประกอบด้วยมงกุฎพาหุรัด ทองกร พระสังวาล เป็นทองลงยา ประดับมณีต่างๆ จอมมงกุฎประดับด้วยเพชร
เครื่องทรงสำหรับฤดูฝน เป็นทองคำ เป็นกาบหุ้มองค์พระอย่างห่มดอง จำหลักลายที่เรียกว่าลายพุ่มข้าวบิณฑ์ พระเศียรใช้ทองคำเป็นกาบหุ้ม ตั้งแต่ไรพระศกถึงจอมเมาฬี เม็ดพระศกลงยาสีน้ำเงินแก่ พระลักษมีทำเวียนทักษิณาวรรต ประดับมณีและลงยาให้เข้ากับเม็ดพระศก
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างเครื่องฤดูหนาวถวายอีกชุดหนึ่ง ทำด้วยทองเป็นหลอดลงยาร้อยด้วยลวดทองเกลียว ทำให้ไหวได้ตลอดเหมือนกับผ้า ใช้คลุมทั้งสองพาหาขององค์พระ
บุษบกทองที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร สร้างด้วยไม้สลักหุ้มทองคำทั้งองค์ ฝังมณีมีค่าสีต่างๆ ทรวดทรงงดงามมาก เป็นฝีมือช่างรัชกาลที่ ๑ เดิมบุษบกนี้ตั้งอยู่บนฐานชุกชี พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างพระเบญจาสามชั้นหุ้มด้วยทองคำ สลักลายวิจิตรหนุนองค์บุษบกให้สูงขึ้น บนฐานชุกชีด้านหน้า ประดิษฐานพระสัมพุทธพรรณี เป็นพระพุทธรูปที่คิดแบบขึ้นใหม่ในสมัยรัชกาลที่ ๔ โดยไม่มีเมฬี มีรัศมีอยู่กลางพระเศียร จีวรที่ห่มคลุมองค์พระเป็นริ้ว พระกรรณเป็นแบบหูมนุษย์ธรรมดาโดยทั่วไป
หน้าฐานชุกชีประดิษฐานพระพุทธปฏิมากรฉลองพระองค์รัชกาลที่ ๑ และรัชกาลที่ ๒ องค์ด้านเหนือพระนามว่า พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก องค์ด้านใต้พระนามว่า พระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระพุทธรูปทั้งสองพระองค์นี้ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์สูง ๓ เมตร ทรงเครื่องแบบจักรพรรดิ์หุ้มทองคำ เครื่องทรงเป็นทองคำลงยาสีประดับมณี
พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระพุทธรูปที่รัชกาลที่ ๓ ทรงสร้างอุทิศให้กับรัชกาลที่ ๑ และ ๒ ศิลปะรัตนโกสินทร์ ปางห้ามสมุทร สูง ๓ เมตร ทรงเครื่องต้นพระจักรพรรดิราช เป็นพระพุทธรูปสำริดหุ้มทองคำลงยาราชาวดี เครื่องต้นประดับเนาวรัตน์ ใช้ทองคำเท่ากับทองที่หุ้มพระศรีสรรเพชญ ในสมัยอยุธยา
 พระสัมพุทธพรรณี 
รัชกาลที่ ๔ ทรงสร้างใน พ.ศ. ๒๓๗๓ ตามอย่างพุทธลักษณะที่พระองค์ทรงสอบสวนได้ สร้างจากกะไหล่ทองคำ ปางสมาธิหน้าตักกว้าง ๔๙ ซม. สูงถึงพระรัศมี ๖๗.๕ ซม. มีการเปลี่ยนพระรัศมีเป็นสีต่าง ๆ ตามฤดูกาล พร้อมกับการเปลี่ยนเครื่องทรงพระแก้วมรกต


หนังสืออ้างอิง : นำชมกรุงรัตนโกสินทร์ 
(เนื่องในงานสมโภชน์กรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี) โดย กองโบราณคดี กรมศิลปากร พ.ศ. ๒๕๒๕